โรคภัยไข้เจ็บ ตอนที่ 48 – การออกกำลังกาย (3)
- โดย ดร. วิทยา มานะวาณิชเจริญ
- 27 ธันวาคม 2566
- Tweet
นอกจากประโยชน์ทางสุขภาพ (Health benefit) ของระบบหัวใจและหลอดเลือด (Cardio-vascular) ที่มาจากการออกกำลังกายแบบแอโรบิก (Aerobic exercise) การออกกำลังกายแบบนี้ยังเชื่อมโยงกับการลดความเสี่ยง (Risk) ในการเป็นโรคมะเร็ง (Cancer)
รวมถึงมะเร็งที่เกี่ยวข้องกับกระเพาะปัสสาวะ (Bladder), หน้าอก (Breast), ลำไส้ (Colon), ช่องคลอด (Endometrium), หลอดอาหาร (Esophagus), ไต (Kidney), และกระเพาะอาหาร (Stomach) โดยมีประจักษ์หลักฐาน (Evidence) ที่บอกว่าการออกกำลังกายแบบนี้ลดความเสี่ยงในการเป็นโรคมะเร็งที่ปอด (Lung) อีกด้วย
ในสหรัฐอเมริกา โรคมะเร็งเป็นสาเหตุหลัก (Leading cause) อันดับ 2 ของการตาย และเป็นสาเหตุหลักของความด้อยสมรรถนะ (Disability) ดังนั้น การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม (Behavior modification) จึงมีความสำคัญยิ่งยวด โรคมะเร็งปอด เป็นสาเหตุหลักของการตายด้วยโรคมะเร็งในบรรดาชาวอเมริกัน
แม้ว่าการสูบบุหรี่อาจมีผลกับความเชื่อมโยง (Association) นี้ แต่ข้อมูลแสดง (Suggest) ว่า การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ จะช่วยลดโรคมะเร็งของปอดลงในผู้สูบบุหรี่ถึง 20% และในผู้สูบบุหรี่เก่า (Former) ลดลงถึง 32% ส่วนมะเร็งลำไส้เป็นโรคมะเร็งที่เป็นสาเหตุหลักอันดับ 2 ของการตายจากโรคมะเร็งในสหรัฐอเมริกา
การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมออาจลดความเสี่ยงในการเป็นโรคมะเร็งของลำไส้เทียมเมื่อเทียบกับผู้ที่ไม่ออกกำลังกาย (Physically inactive) ส่วนมะเร็งหน้าอกเป็นสาเหตุหลักอันดับ 4 ของการตายจากโรคมะเร็งในสหรัฐอเมริกา
หญิงที่ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ อาจลดความเสี่ยงในการเป็นโรคมะเร็งหน้าอกลงถึง 12% เมื่อเทียบกับผู้หญิงที่ไม่ออกกำลังกาย การลดนี้มีอิทธิพลมากขึ้น (Robust) ถึง 22% ในผู้หญิงที่ไม่เคยบำบัดทดแทนฮอร์โมน (Hormone-replacement therapy) โอกาสในการเป็นโรคมะเร็งที่กล่าวถึงข้างต้นน่าจะลดลงประมาณ 10% ถึง 20% เมื่อออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
นอกจากนี้ยังพบว่า การออกกำลังกายแบบแอโรบิกอาจช่วยเพิ่มโอกาสในการรอดชีวิตของผู้ป่วยที่มีโรคมะเร็งอยู่แล้ว งานวิจัย (Research) บ่งชี้ว่า ด้วยการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ผู้ป่วยที่เป็นโรคมะเร็งหน้าอกอาจมีโอกาสลดต่ำลงถึง 40% ในการรอด (Survival) การตายจากมะเร็งหน้าอก
ผู้ป่วยที่เป็นโรคมะเร็งลำไส้อาจมีโอกาสต่ำลงถึง 30% ในการตายจากมะเร็งลำไส้ และผู้ป่วยที่เป็นโรคมะเร็งต่อมลูกหมาก (Prostate) อาจมีโอกาสต่ำลงถึง 33% ในการตายจากโรคมะเร็งต่อมลูกหมาก
การออกกำลังกายแบบแอโรบิกอย่างสม่ำเสมอ (Regular) ยังเป็นประโยชน์ทางสุขภาพจิตใจ (Mental health) เช่นกัน ในผู้สูงอายุที่มีความเสื่อมลงในการคิดหรือความจำ (Cognitive) แล้ว เพียง 45 นาทีของการออกกำลังกาย 3 ครั้งต่อสัปดาห์ ก็ได้แสดงให้เห็นการปรับปรุง "การทำงานบริหาร" (Executive function) ในเวลาเพียง 6 เดือนเท่านั้น
แหล่งข้อมูล –